น้ำหนักในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ แตกต่างกันอย่างไร

น้ำหนักในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ-แตกต่างกันอย่างไร

     ในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ น้ำหนักของสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้หลายๆคนอาจสงสัย และเกิดคำถามบ่อยๆในการคำนวณน้ำหนักสินค้า เพื่อนำไปคิดค่าบริการในการขนส่งไปต่างประเทศ ซึ่งวันนี้ซีพีแอลจึงนำความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณค่าบริการในการขนส่งสินค้าชนิดต่างๆมาฝากกัน

 

ประเภทของน้ำหนักในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ

น้ำหนักจริง (Actual Weight)

     น้ำหนักจริง หรือน้ำหนักที่สามารถวัดได้จาก การชั่งสินค้าด้วยเครื่องชั่ง โดยมีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)

น้ำหนักตามปริมาตร (Dimension Weight) 

     น้ำหนักไดเมนชั่น หรือน้ำหนักจากการวัดขนาดกล่อง โดยการวัดขนาดสินค้าและนำมาคำนวณโดยใช้สูตร กว้าง x ยาว x สูง หน่วยเป็นเซนติเมตร (cm) / 6,000

น้ำหนักสุทธิรวมบรรจุภัณฑ์ (Gross Weight)

     น้ำหนักรวมของสินค้า ที่มีการคำนวณโดยรวมน้ำหนักสุทธิของสินค้ากับบรรรจุภัณฑ์ หรืออีกชื่อหนึ่งของน้ำหนักจริง (Actual Weight) นั้นเอง

น้ำหนักสุทธิของสินค้า (Net Weight)

     น้ำหนักสุทธิของสินค้า ที่มีการคำนวณโดยไม่นำบรรจุภัณฑ์มาคิดรวมด้วย

น้ำหนักสุทธิของตู้คอนเทนเนอร์ (Tare Weight)

น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่มีการบรรจุสินค้า

 

คำนวณค่าขนส่งสินค้าไปต่างประเทศด้วยน้ำหนัก “Chargeable Weight”

     ในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศตามหลักสากลแล้ว จะมีการใช้หลัก Chargeable Weight หรือการคำนวณค่าขนส่งโดยเปรียบเทียบค่าน้ำหนักระหว่างน้ำหนักจริง และน้ำหนักตามปริมาตร โดยจะใช้กับการขนส่งทางเครื่องบิน และการขนส่งทางรถบรรทุก และมีสูตรในการคำนวณ คือ

     • หากค่าน้ำหนักจริง มากกว่า น้ำหนักตามปริมาตร

     น้ำหนัก X อัตราค่าขนส่ง (กิโลกรัม) = ค่าขนส่ง

     • หากค่าน้ำหนักตามปริมาตร มากกว่า น้ำหนักจริง

[( กว้าง x ยาว x สูง (ซม.) ) ÷ 5,000] X อัตราค่าขนส่ง (กิโลกรัม)  = ค่าขนส่ง

ตัวอย่างการคำนวณค่าขนส่งสินค้าด้วยน้ำหนัก“Chargeable Weight”

     ตัวอย่างเช่น สินค้าน้ำหนัก 13 กิโล และมีขนาด 40 * 40 * 40 ซม. ส่งสินค้าค่าบริการ 500 บาท/กิโล

      • เปรียบเทียบน้ำหนักจริง กับน้ำหนักตามปริมาตร คือ 13 กิโล กับ (40 * 40 * 40) / 5000 = 12.8  สรุปได้ว่าใช้ค่าน้ำหนักจริง ในการคำนวณค่าขนส่ง

     • คิดค่าขนส่งด้วยน้ำหนักจริง คือ ใช้สูตร น้ำหนัก X อัตราค่าขนส่ง (กิโลกรัม) = ค่าขนส่ง คือ 13*500 = 6500 บาท สรุปได้ว่าค่าขนส่งเท่ากับ 6500 บาท

 

     โดยสรุปแล้วน้ำหนักที่ใช้ในการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศมีหลากหลายประเภท และการคำนวณค่าขนส่งสินค้าสำหรับการส่งของไปต่างประเทศ จะต้องทำการเปรียบเทียบน้ำหนัก 2 ประเภท ทั้งน้ำหนักจริง และน้ำหนักตามปริมาตร ค่าใดมากกว่าจะนำมาใช้เป็นน้ำหนักคำนวณค่าขนส่งต่อไป ซึ่งทางซีพีแอลเราให้บริการขนส่งสินค้า ทั้งส่งออก-นำเข้า โดยคำนวณค่าขนส่งตามหลักสากลที่น่าเชื่อถือ พร้อมทั้งบริการรวบรวมสินค้า แพ็คสินค้า จัดทำเอกสาร เดินพิธีการต่างๆ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาการขนส่ง หากสนใจสามารถสอบถามซีพีแอลได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ

 

 

สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

Please fill out the information for the staff to contact you back.

Contact us
LINE ID : @cplinter