บรรจุภัณฑ์นับเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งในการขนส่งสินค้า การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาในระหว่างการขนส่ง และสร้างความมั่นใจให้เราได้ว่า สินค้าจะไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย โดยตัวเลือกที่เป็นที่นิยมอย่างหนึ่งคือ การตีลังไม้ ด้วยเหตุนี้ CPL จึงอยากมาคลายความสงสัยของใครหลายๆคนว่า การตีลังไม้คืออะไร และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
ชนิดของการตีลังไม้
1. ลังไม้ทึบ
Wooden Case can be used to pack any kinds of products to ensure maximum safety of the shipment while transported. This type of packaging is commonly used to pack multiple small items together in a single case, reducing the risk of pilferage. ค่าบริการ 1,500 – 2,500 บาท ต่อคิวบิกเมตร2. ลังไม้โปร่ง
ลังไม้แบบโปร่งเหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก เพื่อลดค่าบรรจุภัณฑ์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการส่งสินค้าขนาดใหญ่ ค่าบริการ 1,200 – 2,000 บาทต่อคิวบิกเมตร3. พาเลท
พาเลทของเรามีทั้งแบบไม้และพลาสติก โดยทั่วไปจะใช้สำหรับการจัดเก็บ/ซ้อนบรรจุภัณฑ์ และเคลื่อนย้ายที่ตั้งของสินค้าโดยมีพาเลทเป็นฐานรองเพื่ออำนวยความสะดวกในการยกซ้อนและช่วยจัดรวมบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเข้าด้วยกัน ค่าบริการ 1,000 – 2,000 บาทข้อดีของการตีลังไม้
- มีความแข็งแรง ทนทาน
- ทนความชื้นและสภาพอากาศได้ดี
- รับน้ำหนักสินค้าได้มาก โดยไม่เสียรูปทรงเหมือนกล่องกระดาษ
- เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักมาก
- สามารถวางซ้อนกันได้
- ทนต่อความชื้นได้ดี
- สามารถสั่งทำให้เข้ากับรูปร่างและขนาดของสินค้าได้
- มีอายุการใช้งานนาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ข้อเสียของการตีลังไม้
- ต้องมีพื้นที่จัดเก็บในระหว่างพักการใช้งาน
- ต้องผ่านการรมยาก่อนการส่งไปต่างประเทศ
- มีราคาแพงกว่ากล่องกระดาษ
- ลังไม้ที่ถูกสั่งทำเป็นพิเศษอาจจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
รายการ WHAT IS
EP.22 : การตีลังไม้
“ลังไม้” อีกหนึ่งทางเลือกในการแพ็คสินค้าในงานโลจิสติกส์ ซึ่งมีหลากหลายประเภท และมีข้อดีข้อเสียเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มากมาย ซึ่งวันนี้ซีพีแอลได้รวบรวมเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาให้ทุกคน รับชมกันได้เลย
สนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ
เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย
ตรวจสอบก่อน
Please fill out the information for the staff to contact you back.
Contact us
LINE ID : @cplinter