คลังสินค้ามีกี่ประเภท คลังสินค้าหรือโกดัง คือ สถานที่ สำหรับจัดเก็บสินค้าซึ่งเป็น ที่ต้องการทั้งสำหรับผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการด้านขนส่ง ซึ่งในยุคนี้ก็มี คลังสินค้าให้เช่ามากมาย โดยโกดังสินค้า มักจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองออกไป เนื่องจากต้องการพื้นที่จำนวนมาก สำหรับจัดเก็บสินค้า บางโกดังสินค้า ก็จะตั้งอยู่ติดกับ ท่าเรือ สนามบิน เพื่อความสะดวก ในการเคลื่อนย้าย และ ขนส่งสินค้าล็อตใหญ่ๆ ซึ่งโกดังส่วนใหญ่มักจะจัดเก็บสินค้าแบบพาเลทเป็นชั้นๆ เพื่อประหยัดพื้นที่ แล้วใช้รถโฟล์คลิฟท์สำหรับยก และ เคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
ลองมาดูกันว่าคลังสินค้าหรือ โกดัง สำหรับจัดเก็บสินค้าโดยทั่วไป มีทั้งหมดกี่ประเภท และ แต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ประเภทคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะของธุรกิจ
1. คลังสินค้าแบบส่วนตัว (Private Warehouse)
คลังสินค้าประเภทนี้เป็นแบบส่วนตัว ไม่มีผู้ประกอบการ หรือ ผู้อื่นมาเกี่ยวข้อง อาจเป็นโกดังที่ตั้งอยู่ติดกับส่วนที่ผลิตสินค้าในโรงงานโดยตรง ของผู้ผลิต สามารถใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าได้อย่างอิสระ อาจเป็น คลังสินค้าที่สร้างเอง หรือ แบบเช่า
2. คลังสินค้าแบบสาธารณะ (Private Warehouse)
คลังสินค้าประเภทนี้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ เข้ามาจับจอง และ เช่าพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าได้ตามต้องการ เป็นการสนับสนุนจากรัฐสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และ ขนาดกลางภายในประเทศที่อาจมีพื้นที่สำหรับ การจัดเก็บสินค้าของตนเองที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่อาจมีความต้องการด้านกำลังการผลิตมากกว่าปกติ
ประเภทคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะงาน
1. คลังสินค้าแบบศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC)
คลังประเภทนี้จะมีพื้นที่เก็บสินค้าขนาดใหญ่ รองรับสินค้าจำมาก จะทำหน้าที่จัดเก็บสินค้า และ ยัง เป็นส่วนกลางที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ผลิต กับ ผู้ค้าปลีก โดยจะจัดเก็บสินค้า และทำการจัดส่งให้กับลูกค้าตามความต้องการของผู้ผลิต หรือ หากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือการที่ผู้ให้บริการคลังสินค้าประเภทนี้นำสินค้าของผู้ผลิตมาเก็บไว้ในคลัง จากนั้นจึงทำการส่งสินค้าแทนผู้ผลิตไปสู่ผู้รับหรือก็คือร้านค้าปลีก โดยที่ผู้ค้าปลีกไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้าจำนวนมาก
2. คลังสินค้าแบบศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Cross Dock)
เป็นคลังสินค้าที่ใช้ในการรับ และ ส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน หรืออาจเป็นคลังที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าจากพาหนะหนึ่งไปสู่พาหนะอีกหนึ่ง คล้ายกับเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้า และถึงแม้ว่าคลังสินค้าแบบ Cross Docking และ DC จะมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการรับสินค้าจากหลายแหล่งมาไว้ที่คลัง แต่ Cross Docking จะมีระยะเวลาจัดเก็บที่สั้นกว่าเพราะเป็นแค่สถานที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่จะไม่มีการกระจายสินค้า (Putaway) และไม่มีการเติมสินค้า(Replenishment) ภายในคลัง
3. คลังสินค้าแบบบริหารจัดการ( Fulfilment Center)
คลังสินค้าประเภทนี้มักเป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจ e-commerce เนื่องจากเป็นคลังที่รับสินค้าแล้วยังทำการแพ็คสินค้าและทำการจัดส่งสินค้าให้ด้วย ซึ่งปัจจุบันคลังสินค้าประเภทนี้ได้รับความนิยมมากเนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ดี ไม่ต้องดูแลเรื่องการสต๊อกสินค้า และจัดส่งใดๆ ทั้งสิ้น โดยเริ่มจากการที่บริษัทผู้ค้าส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าแบบบริหารจัดการก่อน และเมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า คลังสินค้าก็จะบริหารจัดการเรื่องการขนส่งสินค้าให้ต่อ
ประเภทคลังสินค้าแบบตามลักษณะสินค้าภายในคลัง
1. คลังสินค้าทั่วไป
ทำหน้าที่เก็บสินค้าทั่วไป เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ข้าวของในชีวิตประจำวัน หรือสิ่งของสำหรับการอุปโภคบริโภค เป็นต้น
2. คลังสินค้าของสด
ทำหน้าที่เก็บรักษาของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเล คลังสินค้าประเภทนี้จึงต้องมีการควบคุมอุมหภูมิอย่างเหมาะสม
3. คลังสินค้าอันตราย
เป็นคลังที่ใช้จัดเก็บสารเคมี เชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ หรือระเบิด เป็นต้น โดยผู้ประกอบการที่ใช้งานคลังสินค้าประเภทนี้ต้องคัดแยกวัตถุอันตรายให้เหมาะสม จัดเก็บตามหลักที่ถูกต้อง ต้องมีระบบควบคุมและดูแลเรื่องของมลพิษอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
4. คลังสินค้าพิเศษ
เป็นคลังสินค้าขนาดเล็กแต่ใช้เก็บสิ่งของที่มีมูลค่าสูง ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่สินค้าที่ต้องใช้คลังประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น เครื่องสำอาง ยา หรือเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว คลังสินค้ามีกี่ประเภท คลังสินค้ามีหลากหลายประเภท โดยทางองค์กรหรือผู้ประกอบการต่างๆมีหน้าที่ในการเลือกคัดสรรประเภทคลังสินค้า ให้เหมาะสมกับสินค้าหรือธุรกิจขององค์กรตนเองมากที่สุด ซึ่งหากใครมีแพลนที่จะส่งออก-นำเข้าสินค้า แต่ยังไม่มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บ หรือรวบรวมสินค้า ทางซีพีแอลเรามีให้บริการคลังสินค้าครบรูปแบบ รวมถึงบริการจัดเตียมเอกสาร และการเดินพิธีการต่างๆ ให้การส่งออก-นำเข้าครบจบในที่เดียว สามารถติดต่อสอบถามบริการของ CPLINTER ได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com และฝากติดตามสาระน่ารู้จากรายการของเรา CPL What is ด้วยนะคะ
สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
Please fill out the information for the staff to contact you back.