“ค่าเงินบาท” คือจำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับสกุลเงินต่างประเทศ หรือเป็นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงิน 2 สกุลที่ค่าเงินบาทแข็งค่าหรือค่าเงินบาทอ่อนค่า โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งย่อมมีผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ในวันนี้ซีพีแอลจะมาอธิบายให้ฟังกันว่าค่าเงินบาทแข็งค่าหรือค่าเงินบาทอ่อนนั้น ส่งผลต่อการนำเข้าส่งออกสินค้าอย่างไร ใครได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
ค่าเงินบาทแข็งค่าหรือค่าเงินบาทอ่อนค่าได้อย่างไร ?
ค่าเงินบาทแข็งค่าหรือค่าเงินบาทอ่อน เป็นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกตลาดซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น โดยถ้าในตลาดมีความต้องการมาก เงินสกุลนั้นก็จะแข็งค่าขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าในตลาดไม่เป็นที่ต้องการ ก็จะทำให้เงินอ่อนค่า ส่งผลกระทบทั้งผู้นำเข้าและส่งออกในทิศทางตรงกันข้าม
ค่าเงินบาทแข็งค่า
คือ การใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นๆ ในจำนวนเท่าเดิม เช่น จากเดิมเงิน 37 บาท แลกได้ 1 USD วันนี้เงิน 30 บาทแลกได้ 1 USD ดังนั้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าห์
ผู้ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งค่า
- ผู้นำเข้า สินค้าปริมาณเท่าเดิมแต่ต้นทุนการนำเข้าสินค้าลดลง ทำให้กำไรมากขึ้น ราคาสินค้าถูกลง ซึ่งเป็นการใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
- ผู้ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ต่างประเทศและนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยการใช้เงินบาทน้อยลงในการจ่ายมูลค่าสินค้า
- ผู้เดินทางไปต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยว จะสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ในจำนวนที่สูงขึ้น และซื้อสินค้าจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลง
ผู้เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งค่า
- ผู้ส่งออก จะมีกำไรที่น้อยลง เพราะเมื่อนำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะสามารถแลกเงินบาทได้น้อยลง
- ผู้ที่ไปทำงานต่างประเทศ เมื่อจะแลกเงินกลับในประเทศ จะสามารถนำสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
- ผู้เดินทางไปต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยว จะสามารถแลกเงินบาทได้น้อยลง
ค่าเงินบาทอ่อนค่า
คือการใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นๆ ในจำนวนเท่าเดิม เช่น จากเดิมเงิน 30 บาทแลกได้ 1 USD วันนี้เงิน 37 บาทแลกได้ 1 USD ดังนั้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าห์
ผู้ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า
- ผู้ส่งออก ต้นทุนและราคาขายสินค้าเท่าเดิม แต่มีกำไรมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- ผู้ที่ไปทำงานต่างประเทศ เมื่อจะแลกเงินกลับในประเทศ จะสามารถนำสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- ผู้เดินทางไปต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยว จะสามารถแลกเงินบาทได้มากขึ้น
ผู้เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า
- ผู้นำเข้า สินค้าปริมาณเท่าเดิมแต่ต้องเพิ่มต้นทุนการนำเข้าสินค้า ทำให้กำไรน้อยลง ซึ่งเป็นการใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
- ผู้ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ต่างประเทศและนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยการใช้เงินบาทมากขึ้นในการจ่ายมูลค่าสินค้า
- ผู้เดินทางไปต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยว จะสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ในจำนวนที่น้อยลง และซื้อสินค้าจากต่างประเทศในราคาที่แพงขึ้น
ดังนั้น เมื่อเข้าใจหลักการของค่าเงินบาทไปแล้ว จะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุนต่างๆ จึงต้องติดตามสถานการณ์ของค่าเงิน เพื่อที่จะได้วางแผนรับมือได้อย่างทันถ่วงที และถ้าหากผู้ประกอบการท่านใดทำธุรกิจที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า CPLINTER เราก็มีบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางเครื่องบิน รถและเรือ คอยให้คำปรึกษาเรื่องการขนส่งสินค้า ทั้งเรื่องการนำเข้า-ส่งออก การบรรจุสินค้า การจัดเตียมเอกสาร และการเดินพิธีการต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามบริการของ CPLINTER ได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com และฝากติดตามสาระน่ารู้จากรายการของเรา CPL What is ด้วยนะคะ
สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
Please fill out the information for the staff to contact you back.