เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในปัจจุบัน เช่น โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค ของเล่นเด็ก พัดลม ไดร์สำหรับเป่าผม เป็นสินค้าอีกประเภทที่หลายๆคนมีความต้องการส่งออกไปต่างประเทศ และอาจเกิดคำถามขึ้นมาว่าหากต้องการจะส่งสินค้าทั้งหลายเหล่านี้จะต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากหรือน้อยขนาดไหน แต่จริงๆแล้วสามารถจัดส่งได้ง่ายกว่าที่ทุกคนคิด วันนี้ซีพีแอลจึงได้นำสาระน่ารู้เกี่ยวกับการจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิดมาฝากกัน
จำแนกประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไม่มีแบตเตอรี่
สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไม่มีแบตเตอรี่ โดยปกติแล้วจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ารูปแบบเสียบปลั๊ก ซึ่งหากต้องการที่จะจัดส่งไปยังต่างประเทศ สามารถจัดส่งไปได้เลย ตัวอย่างสินค้า เช่น พัดลม ไดร์สำหรับเป่าผม เป็นต้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่
ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่มีแบตเตอรี่ ขึ้นชื่อว่าเป็นสินค้าที่ทำให้เกิดประจุไฟได้ จึงจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นอันตรายจากไฟไหม้บนพื้นดินและระหว่างการบินได้ โดยแบตเตอรรี่จะสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท ที่สามารถจัดส่งไปยังต่างประเทศได้
ประเภทของแบตเตอรี่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
เป็นแบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมที่สุดสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา เช่น แล็ปท็อป โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 และกล้องบันทึกวิดีโอ เป็นต้น ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้สามารถอัดประจุไฟได้เมื่อประจุไฟหมด
แบตเตอรี่ลิเธียมโลหะ
เป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานนานกว่าแบตเตอรี่อัลคาไลน์ทั่วไป และมักพบในสินค้า เช่น ของเล่น และเครื่องคิดเลข แบตเตอรี่เหล่านี้ไม่สามารถอัดประจุไฟได้ และจะต้องทิ้งเมื่อประจุไฟหมด
วิธีการจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่
สำหรับการจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่ หรือแบตเตอรี่ลิเธียมทั้ง 2 ประเภทนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATAS) หรือ ไออาตา ได้กำหนดไว้
ตัวอย่างวิธีการจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่ แต่ละชนิด
ตัวอย่างที่ 1
การจัดส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน กำลังวัตต์ ต่ำกว่า 100 Wh
และแบตเตอรี่ลิเธียมโลหะ ที่ลิเธียมน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโล
บรรจุพร้อมกับอุปกรณ์ ปริมาณน้อยกว่า 5 กิโล
– ไม่ต้องมีใบสำแดงของผู้จัดส่ง
– ต้องมีข้อความระบุในใบตราส่งสินค้าทางอากาศว่า “แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออนเป็นไปตามระเบียบในหมวด II ของ PI966”
– อาจจัดส่งได้เพียงแค่ 1 – 2 ชิ้น เท่านั้น
– ต้องมีฉลากหน้ากล่อง “UN3481 label ” เพื่อระบุว่าเป็นสินค้าที่มีแบตเตอรี่
ตัวอย่างที่ 2
การจัดส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน กำลังวัตต์ ต่ำกว่า 100 Wh
และแบตเตอรี่ลิเธียมโลหะ ที่ลิเธียมน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโล
บรรจุพร้อมกับอุปกรณ์ ปริมาณมากกว่า 5 กิโล
– ต้องมีใบสำแดงของผู้จัดส่ง
– ต้องมีข้อความระบุในใบตราส่งสินค้าทางอากาศว่า “สินค้าอันตรายตามใบสำแดงของผู้จัดส่งที่แนบมาด้วย” และ “เครื่องบินขนส่งสินค้าเท่านั้น”
– หากปริมาณเกิน 35 กิโล จะไม่สามารถจัดส่งได้
– ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ของ UN
– ฉลากแบตเตอรี่ลิเธียมคลาส 9 กับฉลาก CAO ระบุหน้ากล่องด้วย
ซึ่งหากต้องการศึกษาเกี่ยวกับตัวอย่างการจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่ ชนิดอื่นๆสามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ https://www.fedex.com/th-th/shipping-guide/pack/lithium-batteries.html ได้เลยค่ะ
การส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าไปต่างประเทศ สรุปแล้วเราควรจะทำการจำแนกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกต้องก่อน ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหน จึงจะสามารถเตรียมการจัดส่งได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมที่สุด ซึ่งในการจัดส่งสินค้า อาจมีเรื่องของการแพ็คสินค้า การจัดทำเอกสาร หรือเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับที่ควรตรวจเช็คให้ดีก่อนการจัดส่ง ซึ่ง CPLINTER สามารถเป็นผู้ช่วย ทั้งเรื่องสินค้า เรื่องเอกสาร และเรื่องต่างๆอีกมากมาย พร้อมกับบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ซีพีแอลยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยใจ สำหรับผู้ที่สนใจส่งออก-นำเข้าสินค้า สามารถติดต่อสอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยนะคะ
รายการ WHAT IS
EP.51 : ส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าไปต่างประเทศอย่างไร
เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่มีขนาดเฉพาะตัว การจัดส่งไปยังต่างประเทศ ควรทำการคำนวณต่างๆให้ดี รวมถึงศึกษากฎระเบียบต่างๆในการจัดส่งบรรดาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไปต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราสองคนได้รวบรวมสาระน่ารู้ที่ควรทราบก่อนส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าไปต่างประเทศมาให้ทุกคนกัน
สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
Please fill out the information for the staff to contact you back.