Form A/ Form D/ From E คืออะไร

รู้หรือไม่ว่า Form A/ Form D/From E ต่างๆเหล่านี้เป็นเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าไปต่างประเทศ และรู้มั้ยว่าแท้จริงแล้วเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคืออะไร ต่างกันอย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไรในการส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ดังนั้น CPLINTER ได้รวบรวมสาระน่ารู้ที่สำคัญของ Form A/ Form D/From E มาบอกเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการส่งสินค้าไปต่างประเทศ

Form A 

     หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษทางการค้า โดยประเทศที่กล่าวมาข้างต้นได้แก่ สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา นอร์เวย์ บัลแกเรีย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เบลารุส

 

Form D 

     หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีศุลกากร ภายใต้ข้อตกลง CEPT (Common Effective Preferential Tariff) หมายถึงอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน เป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่นำเข้าระหว่างกันของประเทศภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือที่เรียกว่า AFTA โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา

ข้อบังคับทั่วไปของ Form D

1. จะต้องมีวัตถุดิบในประเทศต้นกำเนิดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40% เพื่อรับรองว่าสินค้านั้นก่อให้เกิดรายได้ในประเทศกลุ่มอาเซียน
2. Form D เป็นเอกสารทางราชการที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. การลดหย่อนภาษีเป็นไปตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อาจไม่ใช่ 0% เสมอไป 

ประโยชน์ของ Form D 

1. สำหรับผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ทำให้เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น เกิดรายได้ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างพันธมิตรทางการค้า
2. สำหรับผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงและช่วยลดต้นทุนการผลิตทำให้มียอดจำหน่ายในประเทศสูงขึ้น

Form E 

     หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ผลิตและส่งออกจากสมาชิกประเทศในเขตการค้าเสรีชนิดที่มีสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีศุลกากร ซึ่งเกิดจากการทำข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับจีนหรือ ACFTA (ASEAN-China Free Trade Area) โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกันในประเทศสมาชิก ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนามและจีน ซึ่งการขอใช้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีศุลกากรไม่ใช่ว่าสินค้าทุกประเภทที่จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ ผู้นำเข้าจำเป็นต้องเช็คพิกัดศุลกากรว่าสินค้าที่จะนำเข้ามานั้น สามารถลดหย่อนภาษีForm Eได้หรือไม่

ลักษณะของ Form E 

1. ต้องออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศส่งออกที่เป็นสมาชิก ACFTA เท่านั้น
2. เอกสารฟอร์ม E ต้นฉบับมีสีน้ำตาลอ่อน โดยมีสำเนาสองฉบับเป็นสีเขียวอ่อน
3. จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
4. อายุของเอกสาร Form E นั้นมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
5. แสดงสินค้าได้ไม่เกิน 20 รายการ
6. เป็นแบบฟอร์มด้านหน้าและมีข้อมูลตัวหนังสือที่ถูกต้องอยู่บนด้านหลัง
7. ข้อมูลที่ระบุในเอกสารต้องถูกต้องตรงกับเอกสารอื่นที่ใช้ประกอบการนำเข้าส่งออก และต้องเป็นเอกสารตัวจริงเท่านั้นในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีศุลกากร



สรุปแล้ว เอกสารทั้ง3รูปแบบนั้นต่างก็มีประโยชน์ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีศุลกากรกับประเทศสมาชิกที่ทำการส่งออกและในการทำหนังสือข้อตกลงเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย  ดังนั้นหากต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศสามารถปรึกษา CPLINTER เราช่วยคุณทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ

รายการ WHAT IS 
EP.26: FormA / FormD / FormE

ข้อตกลงทางการค้าที่จะทำให้คุณประหยัดต้นทุนมากขึ้นนั้น สำหรับประเทศไทย ได้เข้ารวมข้อตกลงทางการค้าที่หลากหลายกลุ่ม ซึ่งเราในฐานะผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จะชวนมาดู Form ทางการค้าต่างๆ ที่ทำให้ลูกค้าทุกท่านได้เปรียบกว่า มีต้นทุนที่ประหยัดมากขึ้นกัน

สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

Please fill out the information for the staff to contact you back.

Contact us
LINE ID : @cplinter