การส่งของไปต่างประเทศ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ มีรายละเอียดต่างๆในการจัดส่งสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศที่จะทำการจัดส่ง และรูปแบบในการขนส่งสินค้า ซึ่งมีความซับซ้อนและยากลำบากมากกว่าการขนส่งภายในประเทศ ยิ่งการขนส่งสินค้าทางเรือ และการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก ยิ่งต้องมีเรื่องของเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งทางที่ดีสำหรับผู้ส่งสินค้าเองควรที่จะอาศัยตัวแทนหรือตัวกลาง เพื่อทำให้การดำเนินงานเรื่องของการขนส่งสินค้า รวมไปถึงเรื่องการประสานงาน การจัดทำและเดินเอกสาร เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
Freight Forwarder และShipping เป็นบุคคลที่เข้ามามีบทบาทในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ ให้สามารถส่งออก-นำเข้าได้ง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกันอย่างไร ซีพีแอลได้รวบรวมข้อมูลต่างๆมาฝากทุกคนกัน
ความหมายของ Freight Forwarder คืออะไร
Freight Forwarder หรือ ธุรกิจบริการในรูปแบบตัวแทนของผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวแทนหรือตัวกลางของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยสามารถให้บริการลูกค้าตั้งแต่ การขนส่งสินค้าทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือ ทางรถบรรทุก การติดต่อประสานงานกับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า การจองระวางเรือ การคลังและรวบรวมสินค้า การบรรจุสินค้าหรือแพ็คสินค้า การกระจายสินค้า การจัดทำเอกสารที่สำคัญในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ การดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า-ขาออก รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แต่จะไม่มีเรือ และตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง อาศัยการเช่าจากเจ้าอื่น และมีลูกค้ารายเล็กๆเป็นส่วนมาก
ความหมายของ Shipping คืออะไร
Shipping หรือ ธุรกิจบริการไม่ว่าจะในรูปแบบของบริษัทหรือตัวแทนของผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวแทนหรือตัวกลางของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประสานงานกับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า จัดทำเอกสารที่สำคัญในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ใบขนส่งสินค้าสำหรับให้ด่านศุลกากร การดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า-ขาออก ซึ่งจะมีเรือและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง และมีลูกค้ารายใหญ่เป็นส่วนมาก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Shipping ตัวแทนส่งออกสินค้าทั่วไป และShipping AEO ตัวแทนส่งออกสินค้ามาตรฐานเออีโอ (ตัวแทนได้รับการรับรองด้านความปลอดภัย) นั้นเอง
ความแตกต่างของ Freight Forwarder และ Shipping
หน้าที่การทำงานของ Freight Forwarder และ Shipping คือการเป็นตัวกลาง หรือตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ ให้สามารถส่งออก-นำเข้าได้ง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความใกล้เคียงกันมากๆ แต่จะมีบางรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้สามารถแยกความแตกต่างได้ง่ายๆ ซึ่งสามารถทราบได้จากส่วนไหนบ้าง ไปดูกันเลย
Freight Forwarder | Shipping |
ไม่มีเรือ และตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง (เช่าเจ้าอื่น) | มีเรือ และตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง |
ลูกค้ารายย่อยเป็นส่วนมาก | ลูกค้ารายใหญ่เป็นส่วนมาก |
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการให้บริการสูงกว่า (จากค่าเช่าต่างๆ) | ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการให้บริการต่ำกว่า |
จะเห็นได้ว่า Freight Forwarder และ Shipping นั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ต่างก็เป็นผู้ช่วยที่ดีสำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าต่างๆแล้ว ยังช่วยในเรื่องการจัดการเอกสารที่ยุ่งยากได้อีกด้วย ซึ่ง CPLINTER บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแบบครบวงจร ก็สามารถเป็นผู้ช่วยให้คุณได้เช่นกัน ทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com
รายการ WHAT IS
EP.31: Freight Forwarder และ Shipping
Freight Forwarder และ Shipping เปรียบเสมือนตัวแทนและตัวกลางในการผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้าให้กับลูกค้า ที่ทำให้การส่งออก-นำเข้าสินค้าสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งพวกเรา 2 คน จะมาอธิบายสาระน่ารู้เกี่ยวกับคำ 2 คำนี้กัน
สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ