
Our Logistic Solution
บริการขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods)
สินค้าอันตราย (Dangerous Goods) คือ สิ่งของหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมีหรือกายภายโดยตัวของมันเอง หรือเมื่อสัมผัสกับสารอื่น เช่น อากาศหรือน้ำ เป็นตัน แล้วทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ ทรัพย์สิน หรือต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าอันตราย แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
ประเภทที่ 1 - วัตถุระเบิด วัสดุที่สามารถระเบิด ทําให้เกิดไฟไหม้ เศษกระสุน และคลื่นกระแทก สินค้าอันตรายประเภทนี้รวมถึงดอกไม้ไฟ กระสุน และวัตถุระเบิดอุตสาหกรรมบางชนิด ประเภทที่ 2 - ก๊าซไวไฟ สารที่เป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้องและสามารถติดไฟได้ หรือไม่ติดไฟ หรือเป็นพิษ เช่น ก๊าซปิโตรเลียม ไฟแช็ค ฮีเลียมและก๊าซในยาฆ่าแมลง ประเภทที่ 3 - ของเหลวไวไฟ ของเหลวที่ติดไฟได้ง่าย เช่น น้ำมันเบนซิน ผลิตภัณฑ์น้ำหอม แอลกอฮอล์ อะซิโตน และน้ำมันดีเซล ประเภทที่ 4 - ของแข็งไวไฟ สารที่เป็นของแข็ง แต่สามารถติดไฟได้จากการเสียดสี การดูดซับความชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น ไม้ขีดไฟ แบตเตอรี่โซเดียม และผงโลหะบางประเภท ประเภทที่ 5 - สารออกซิไดซ์และเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ วัสดุที่สามารถปล่อยออกซิเจนเพื่อกระตุ้นการเผาไหม้ของวัสดุอื่นๆ ซึ่งรวมถึงปุ๋ยและแคลเซียมไนเตรต ประเภทที่ 6 - สารพิษและสารติดเชื้อ วัสดุที่อาจทําให้เสียชีวิต บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยได้ หากกลืนกิน สูดดม หรือสัมผัสกับผิวหนัง สินค้าอันตรายประเภทนี้ครอบคลุมสารประกอบ ได้แก่ สารหนู ไซยาไนด์และของเสียทางการแพทย์ ประเภทที่ 7 - วัสดุกัมมันตภาพรังสี สารที่ปล่อยรังสี รวมถึงผลิตภัณฑ์บําบัดทางการแพทย์และกากกัมมันตภาพรังสี ประเภทที่ 8 - สารกัดกร่อน สารที่สามารถละลายเนื้อเยื่ออินทรีย์หรือกัดกร่อนโลหะอย่างรุนแรง ตัวอย่าง กรดเช่นกรดซัลฟิวริก ปรอท กรดไฮโดรคลอริกและกรดอื่นๆ ประเภทที่ 9 - วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด สินค้าที่ไม่เข้าข่ายประเภทอื่นๆ แต่ถือว่าเป็นอันตรายต่อการขนส่งจะอยู่ภายใต้สินค้าอันตรายประเภทที่ 9 ซึ่งรวมถึงน้ำแข็งแห้ง สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุแม่เหล็ก อุปกรณ์กู้ภัยแบบเป่าลมได้เอง เช่น เสื้อกั๊กและถุงลมนิรภัย แบตเตอรี่ลิเธียม ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคจำพวกแอโรซอล เช่น โลชั่นบํารุงผิว สเปรย์และน้ำหอม
การขนส่งสินค้าอันตราย เป็นการขนส่งที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ตั้งแต่การบรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก เครื่องหมายต่างๆ จนไปถึงการเตรียมเอกสารเพื่อแนบสินค้า เพื่อเป็นการให้ข้อมูลของสินค้านั้นๆ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องดูแลสินค้าอันตรายนั้น จำเป็นต้องได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี การบรรจุสินค้าอันตราย ต้องบรรจุให้เหมาะสมตามประเภทของสินค้าอันตราย วัสดุที่ใช้มาเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการทดสอบความทนทานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องเป็นไปตามที่กฎระเบียนกำหนดไว้ ต้องบรรจุให้แน่นหนา มีการกันกระแทกและกันการรั่วซึม
การติดฉลาก เครื่องหมาย และป้ายต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับสินค้าอันตราย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้ถึงสภาพสินค้าที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ และสามารถปฎิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของการจัดการ จัดเก็บ จนกระทั่งการขนส่งสินค้านั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
เอกสารสำคัญสำหรับประกอบการขนส่งสินค้าอันตรายที่จำเป็นต้องมี
คือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ Material Safety Data Sheet (MSDS) เป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตรายนั้นๆ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวจะมีจัดทำไว้ให้ ซึ่งจะมีทั้งหมด 16 หัวข้อ
1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย 2.องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม 3.ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย 4.มาตรการปฐมพยาบาล 5.มาตรการการผจญเพลิง 6.มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารหกรั่วไหล 7.ข้อปฏบัติการใช้สารและการเก็บรักษา 8.การควบคุมการสัมผัสสาร/การป้องกันส่วนบุคคล 9.สมบัติทางเคมีและกายภาพ 10.ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา 11.ข้อมูลทางพิษวิทยา 12.ข้อมูลเชิงนิเวศน์ 13.มาตรการการกำจัด 14.ข้อมูลการขนส่ง 15.ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนด 16.ข้อมูลอื่นๆ
ซีพีแอล มีทีมงานที่ได้รับการฝึกอบรม และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการขนส่งสินค้าอันตราย ที่จะคอยดูแลการจัดส่งสินค้าอันตรายให้กับลูกค้า เราสามารถช่วยให้คำแนะนำในการจัดส่งสินค้าอันตรายให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าจำเป็นจะต้องแจ้งรายละเอียดสินค้าอันตรายที่ต้องการจัดส่ง พร้อมแนบเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ Material Safety Data Sheet (MSDS) ของสินคัาอันตรายนั้นๆ ให้ทางเราช่วยแนะนำวิธีการเตรียมการสำหรับการจัดส่ง และช่วยขนส่งสินค้าอันตรายไปยังจุดหมายปลายทางให้กับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย