รวมเว็บไซต์น่ารู้ เตรียมพร้อมส่งสินค้าไปต่างประเทศ

      รวมเว็บไซต์น่ารู้ เตรียมพร้อมส่งสินค้าไปต่างประเทศ เนื่องจากแนวโน้มการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รวมถึง การขยายตลาดของคนไทยไปยังต่างแดน มีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะ หลายๆคนได้ทราบว่า การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ไม่ใช่อุปสรรค หรือ เรื่องยากที่ไกลตัวอีกต่อไป ซึ่ง ผู้ที่มีแพลนจะส่งสินค้าไปต่างประเทศ หรือ มือใหม่ในการส่งออกสินค้า ควรที่จะทำการศึกษารายละเอียด ข้อมูลและกฎระเบียบทุกครั้ง เพื่อให้สามารถวางแผนเรื่องการบริหารงาน และ เรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับวันนี้ ซีพีแอลได้รวบ รวมเว็บไซต์น่ารู้ สำหรับมือใหม่ ใครที่กำลังเตรียมความพร้อมส่งสินค้าไป ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้า ไปยังต่างประเทศ หรือ บุคคลต่างๆ ก็ไม่ควรพลาดเลย

 

เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ

     เว็บไซต์ของหน่วยงานกรมการค้าต่างประเทศ (Department of Foreign Trade – DFT) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการ และ อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับบุคคลหรือผู้ประกอบการต่างๆที่ต้องการทำการค้า หรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีความรับผิดชอบหลักในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับผู้ประกอบการ และ ให้ความรู้เกี่ยวกับข่าวสารในทางการค้ากับต่างประเทศ เนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น การออกเอกสารที่สำคัญการส่งออกสินค้า ข้อมูลข่าวสาร และ สิทธิประโยชน์ต่างๆที่ผู้ประกอบควรติดตามก่อนส่งสินค้าไปต่างประเทศ

     ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้ในการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้แก่ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

 

เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์

     เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce – MOC) แหล่งรวมข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจ โดยหน่วยงานมีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า คุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออก แก้ไขปัญหา และ รักษาผลประโยชน์ทางการค้าให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เมื่อจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ เนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ศูนย์รวมกิจกรรมงานแสดงสินค้า กิจกรรมอบรมต่างๆ

     ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้ในการส่งออกไปยังต่างประเทศ ที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

 

เว็บไซต์กรมศิลปากร

     เว็บไซต์ของกรมศิลปากร สำหรับนำเข้า-ส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพระพุทธรูปโดยเฉพาะ โดย ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าเหล่านี้ สามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลความรู้จากเว็บไซต์ได้โดยตรง เนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งออกสินค้า ตัวอย่าง โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ พิกัดศุลกากร กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการขออนุญาตส่งออกโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ และ เอกสารต่างๆ

     ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้ในการส่งออกไปยังต่างประเทศ ที่ออกโดยกรมศิลปากร ได้แก่ ใบอนุญาตส่งศิลปวัตถุหรือพระพุทธรูปออกจากประเทศไทย (Antique Export Licenses)

 

เว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

     เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Department of International Trade Promotion – DITP) ที่ รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ การค้าระหว่างประเทศ มีบทบาทหน้าที่ ในการส่งเสริม และ พัฒนาผู้ประกอบการที่สนใจส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างประเทศไทย เนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น สถานการณ์ทางการค้า-ทางเศรษฐกิจ  บทวิเคราะห์ตลาดล่าสุดของแต่ละประเทศ กิจกรรมทางการค้าที่น่าสนใจ

 

เว็บไซต์องค์การศุลกากรโลก

     เว็บไซต์องค์การศุลกากรโลก (World Customer Organization – WCO) หรือแหล่งรวบรวมข้อมูลของ กลุ่มหน่วยงาน เกี่ยวกับ การส่งเสริม สนับสนุน และ เสริมสร้างการดำเนินงานต่างๆ ของศุลกากรประเทศสมาชิกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับศุลกากร (พิกัดศุลกากร ราคาศุลกากร สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร และกฎหมายต่างๆ) คู่มือ และ รายงานต่างๆ บทความประจำเดือน เอกสารขององค์การศุลกากรโลก

รวมเว็บไซต์น่ารู้ เตรียมพร้อมส่งสินค้าไปต่างประเทศ เปรียบเสมือนข้อมูล สำหรับ เตรียมความพร้อมก่อนจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ภาษี ศุลกากร ข่าวสารต่างๆแบบเรียลไทม์ บทวิเคราะห์ หรือบทความที่น่าสนใจ รวมถึง ฟอร์มเอกสารที่ต้องใช้ในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศอีกด้วย ซึ่ง เป็นคู่มือที่ดีสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกสินค้า ในการศึกษา และ ทำความเข้าใจก่อนส่งออก-นำเข้าสินค้าอีกด้วย ส่วนในเรื่องของการส่งออก-นำเข้าสินค้า สามารถปรึกษา CPLINTER ได้ในทุกเรื่องการขนส่ง ติดต่อสอบถามซีพีแอลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com และ ฝากติดตามสาระน่ารู้จากรายการของเรา CPL What is ด้วยนะคะ